ร้านนมแม่ - นมแม่เซ็นเตอร์
1/6 ซอยร่มเกล้า 11/1 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
โทร. 02-915-2277, 02-184-8164

14 วันแรกหลังคลอดในการเพิ่มปริมาณน้ำนม โอกาสสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการเพิ่มน้ำนมในช่วง 14 วันแรกหลังคลอด มีทฤษฎีที่สนับสนุนหลายอย่าง ดังนี้
1. องค์ประกอบหนึ่งในน้ำนมมารดาคือ Feedback Inhibitor of Lactation (FIL) ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดการสร้างน้ำนมเมื่อเต้านมมีน้ำนมเต็ม ดังนั้นเมื่อเต้านมมีน้ำนมเต็มเต้าจะทำให้อัตราการสร้างน้ำนมลดลง และเมื่อน้ำนมในเต้านมน้อยลงจะทำให้มีการผลิตน้ำนมมากขึ้น
Prolactin receptor เมื่อมีน้ำนมเต็ม alveolus(ถุงเก็บน้ำนม) จะมีผลให้ผนังของมันถูกยืดออกจึงทำให้รูปร่างของ prolactin receptor เปลี่ยนแปลงไปด้วย prolactin จึงไม่สามารถจับกับ prolactin receptor ได้ มีผลให้การสร้างของน้ำนมลดลง ในทางตรงกันข้าม เมื่อน้ำนมใน alveolus ลดลงจะทำให้รูปร่างของ prolactin receptor กลับเข้าสู่ปกติทำให้ prolactin สามารถจับกับ prolactin receptor ได้และสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น Prolactin receptor theory เชื่อว่า frequent milk removal โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่อาทิตย์หลังคลอด (early weeks) จะเพิ่มจำนวน prolactin receptor ซึ่งหาก prolactin receptor เพิ่มขึ้น การสร้างน้ำนมก็จะมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า full breast = slower milk production ส่วน empty breast = faster milk production
3. อัตราการสร้างน้ำนมมีมากในช่วง 2 อาทิตย์แรก หลังจากนั้นอัตราการสร้างน้ำนมจะเริ่มคงที่
4. การ regain birth โดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักกลับมาเท่าน้ำหนักแรกเกิดที่อายุประมาณ 2 อาทิตย์ ดังนั้นช่วงเวลาดังกล่าวหากมารดายังไม่สามารถให้นมทารกได้เพียงพอ จะมีผลให้มารดาส่วนหนึ่งตัดสินใจให้นมผสมแทนการให้นมแม่ได้
เทคนิคการเพิ่มน้ำนมโดยการกินนมจากมารดา (breastfeeding)
![]() 1. ให้กระตุ้นโดยการให้ breastfeeding หรือ pumping ให้เร็ว (early intiation)
2. Kangaroo care (skin to skin care)
3. Non-nutritive tasting at the breast (การให้ดูดเต้าเปล่า...แอดมินกุ๊ก)
4. ใช้ยากระตุ้นน้ำนม (ควรปรึกษาแพทย์...แอดมินกุ๊ก)
5. จดบันทึกอัตราการสร้างน้ำนม
ในสัปดาห์แรกแนะนำให้ breastfeeding อย่างน้อย 10-12 ครั้งต่อวัน และในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ถึง 6 อย่างน้อย 8-12 ครั้งต่อวัน
เทคนิคการเพิ่มน้ำนมโดยการปั๊มนม (breast pump)
ในกรณีทารกคลอดก่อนกำหนด: ปั๊มนมทันทีหลังคลอดอย่างน้อย 8-10 ครั้งต่อวัน เลียนแบบ breastfeeding
ในทารกครบกำหนด: หากต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้นให้ปั๊มเพิ่มเป็น 8-12 ครั้งต่อวัน โดยมีเป้าหมายให้ได้ปริมาณน้ำนม 25-35 ออนซ์ (750-1050 ซีซี) ต่อวัน ภายใน 10-14 วันหลังคลอด โดยไม่เกี่ยวกับปริมาณที่ทารกต้องการ
หมายเหตุ:
Prolactin Hormone มีความสำคัญต่อการสร้างน้ำนมโดยจะทำให้ต่อมน้ำนมมีขนาดใญ่ขึ้นและ alveoli มี differentiation ฮอร์โมนนี้สร้างจาก anterior pituitary gland, เซลล์ในเต้านม และ เซลล์บางส่วนในมดลูก ฮอร์โมน prolactin จะค่อยๆเพิ่มขึ้นหลังคลอดและจะลดระดับลง ภายหลังเมื่อมารดาให้นมทารกหรือแม้กระทั่งได้ยินเสียงหรือเล่นกับทารก สัญญาณระบบประสาทจะถูกส่งไปยัง hypothalamus เกิดการหลั่ง prolactin เมื่อ prolactin ถูกส่งเข้ากระแสเลือดแล้วจะไปยังเต้านมซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์ใน alveoli กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
ฮอร์โมนโปรแลคตินจับกับ prolactin receptor บน lactocyte กระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม หาก prolactin มีการสร้างน้อยลงด้วยเหตุผลใดก็ตามจะทำให้มารดาไม่สามารถที่จะสร้างน้ำนมได้อีกต่อไป
(หลัง 14 วัน ก็ยังมีโอกาสนะคะ แม้จะไม่ง่ายเท่า 14 วันแรก-แอดมิน)
เขียนโดย พญ.นันท์ธิดา ภัทราประยูร
บทความหัวข้อ “The Fourteen days of Opportunities”
#การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 5 วันที่ 2-4 กันยายน 2558
ที่มา: เพจ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
|
คุณแม่นักปั๊ม ทำทุกอย่างเพื่อลูก
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |