ร้านนมแม่ - นมแม่เซ็นเตอร์
1/6 ซอยร่มเกล้า 11/1 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
โทร. 02-915-2277, 02-184-8164

คู่มือสำหรับ Working Mom เพื่อเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้สองปี |
![]() | สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับนมผสม ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็นเพราะพ่อแม่เหล่านั้นไม่เคยทราบว่า “นมผสมที่ใช้เลี้ยงทารกแทนนมแม่ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดไม่ดีพอสำหรับทารก” |
![]() | ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่า “นมมาแล้ว” นั้น กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนร่างกายจะผลิตน้ำนมโดยอัตโนมัติ (แต่ผลิตได้ปริมาณน้อย) ไม่ว่าจะมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายหรือไม่ก็ตาม แต่หลังจากที่น้ำนมมาแล้ว ร่างกายจะผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องต่อไปก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ (โดยการดูด การบีบ หรือการปั๊ม) |
![]() | ขนาดความจุกระเพาะของทารกในแต่ละช่วงอายุ คุณแม่จำนวนมากถูกบริษัทผู้ผลิตนมผสมล่อหลอกให้เข้าใจผิดว่าทารกจะต้องการกินนมปริมาณเท่านั้นเท่านี้ตั้งแต่แรกคลอด และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมากและทำให้แม่ไม่มั่นใจว่าตนเองจะผลิตน้ำนมให้ลูกได้พอ |
![]() | ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่ลูกดูดนมได้ไม่ดี หรือไม่ยอมดูดเลย การใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาปริมาณการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ไว้ได้ |
![]() | เครื่องปั๊มนมช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมได้อย่างไร วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุดก็คือ การให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี บ่อยๆ โดยจะต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ |
![]() | เครื่องปั๊มนมทำให้นมแห้งจริงหรือ การใช้เครื่องปั๊มนม ไม่ได้ทำให้น้ำนมแห้ง แต่การใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพไม่ดี หรือไม่สามารถฝึกให้ร่างกายตอบสนองต่อเครื่องปั๊มนมได้ ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้ |
![]() | เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำว่า "เกลี้ยงเต้า" จนไม่มีน้ำนมเหลือในเต้านั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ แม่เลิกให้นมหรือเลิกปั๊มนมแล้ว เต้านมจะหยุดผลิตน้ำนมหรือที่เรียกว่านมแห้งนั่นเอง |
![]() | ซื้อเครื่องปั๊มนมเมื่อไหร่ดี ก่อนคลอดหรือหลังคลอด สิ่งที่คุณแม่นักปั๊มควรทำ คือตรงกันข้ามกับคำแนะนำนี้ นั่นคือ ต้องซื้อเครื่องปั๊มนมก่อนคลอด เพราะเครื่องปั๊มนมดีๆหาซื้อไม่ได้ทั่วไป ในขณะที่ขวดนม/จุกนม ซื้อที่ไหนก็ได้เมื่อไหร่ก็ได้ |
![]() | ปั๊มมือหรือปั๊มไฟฟ้าดีกว่ากัน สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน และสามารถให้ลูกดูดเต้าได้ตลอดเวลา ถ้าไม่กังวลเรื่องจะต้องมีสต็อคน้ำนมไว้บ้าง เวลาออกไปธุระข้างนอก หรือเจ็บป่วย เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าก็อาจจะไม่จำเป็น มีปั๊มมือดีๆสักอันก็เพียงพอแล้ว |
![]() | มีคนบอกว่าปั๊มไฟฟ้าเจ็บกว่าปั๊มมือจริงหรือไม่ ประสบการณ์ในช่วงนี้ มักทำให้ฝังใจบางคน ลองปั๊มที่โรงพยาบาลแล้วรู้สึกเจ็บก็จำว่ายี่ห้อนั้นทำให้เจ็บ พอกลับมาบ้านให้ลูกดูดเต้าจนครบเดือนจะซื้อเครื่องปั๊มก็ไม่อยากลองยี่ห้อเดิม ไปลองยี่ห้อใหม่คราวนี้ไม่เจ็บ แล้วก็คิดว่ายี่ห้อใหม่ดีกว่ายี่ห้อเก่า |
![]() | ควรจะซื้อปั๊มเดี่ยวหรือปั๊มคู่ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่อง ปริมาณน้ำนมน้อย และในการปั๊มนมแต่ละครั้งมีเวลาจำกัดการใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีกว่า คุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ และต้องการปั๊มนมให้พอสำหรับลูก โดยไม่ใช้นมผสม ต้องปั๊มนมที่ทำงานอย่างน้อยวันละ 2-4ครั้ง นานหลายเดือน หรืออาจเป็นปีแนะนำให้ใช้ปั๊มคู่ เพราะจะช่วยประหยัดเวลาได้มาก |
![]() | วิธีเลือกซื้อเครื่องปั๊มนม เครื่องปั๊มนมแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นมีคุณภาพไม่เหมือนกัน ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกเครื่องปั๊มนมได้แก่ |
![]() | เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี หลังจากคลอดเริ่มต้นปั๊มนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ชม. (เท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน) ยิ่งปั๊มได้บ่อยแค่ไหนต่อวันก็จะยิ่งทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น เลือกใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดีแบบที่สามารถปั๊มพร้อมกันสองข้างได้ |
![]() | กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆที่เต้านมก่อนทีน้ำนมจะพุ่งออกมา |
![]() | ปรับรอบดูดและแรงดูดเครื่องปั๊มนมระดับไหนดี เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าทั่วไปจะมีปุ่มปรับให้เลือกอยู่ 2 อย่างคือ รอบดูดและแรงดูด บางรุ่นรอบดูดคงที่ปรับได้เฉพาะแรงดูด บางรุ่นปรับได้ทั้งรอบดูดและแรงดูด |
![]() | ควรใช้เวลาในการปั๊มนานแค่ไหน สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด ร่างกายยังอ่อนเพลียจากการคลอด และไม่เคยชินการปั๊มนมเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวนมแตกได้ อาจจะเริ่มจากการปั๊มครั้งละ3-5นาทีก่อน เมื่อร่างกายปรับตัวได้ และแข็งแรงขึ้น ควรใช้เวลาปั๊มอย่างน้อย15นาที ต่อข้าง |
![]() | ควรจะปั๊มนมได้ครั้งละกี่ออนซ์ หากต้องการปั๊มนมให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับลูก ต้องฝึกให้คุ้นเคยกับเครื่องปั๊มนม และขยันปั๊มบ่อยๆอย่างสม่ำเสมอ |
![]() | ทำไมปั๊มนมได้สองข้างไม่เท่ากัน คุณแม่ส่วนใหญ่ มักจะรู้สึกกังวลเวลาที่เห็นปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ทั้งสองข้างออกมาไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ปั๊มพร้อมกัน การที่น้ำนมทั้งสองข้างไม่เท่ากันนี้เป็นเรืองปกติ บางคนอาจจะใกล้เคียงกัน แต่บางคนอาจจะห่างกันเป็นออนซ์ ดูเหมือนผิดปกติแต่แท้จริงแล้วปกติ |
![]() | ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดียี่ห้อที่มีคนพิสูจน์มาเยอะแล้ว แล้วว่าใช้ได้ดีจริงแต่ทำไมเรายังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มนมได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุและวิธีแก้ไขดังนี้ |
![]() | ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย คุณแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าเป็นหลัก กับคุณแม่ที่ปั๊มนมอย่างเดียวโดยไม่ให้ลูกดูดนั้น จะมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ คุณแม่ที่ปั๊มนมอย่างเดียวนั้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมตอบสนองกับปริมาณน้ำนมที่ระบายออกไป จากการปั๊มของเครื่อง ซึ่งเป็นปริมาณที่เรียกว่า Over Suppply |
![]() | 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ผู้หญิงเราล้วนแล้วแต่ต้องให้นมลูกไปด้วยทำงานไปด้วย ผู้หญิงเมื่อหลายร้อยปีก่อนก็มีงานที่ต้องรับผิดชอบมากมาย นอกเหนือจากการให้นมลูก แม้แต่ผู้หญิงยุคใหม่ที่อยู่บ้าน ก็ใช่ว่าจะเลี้ยงลูกแค่อย่างเดียว ไหนจะรับผิดชอบงานบ้านอันแสนจะยุ่งเหยิง อยากมีเวลาปั๊มและให้นมเจ้าตัวน้อย เรามีเคล็ดลับ 20 วิธีสำหรับแม่ทำงานมาแนะนำกันคะ |
![]() | วิธีเก็บรักษานมแม่ เพื่อสุขภาพอนามัยของทารกน้อย และความสะดวกของคุณแม่เอง การเก็บรักษาที่ถูกต้องทำอย่างไร คุณแม่ควรจะต้องใส่ใจดูแล |
![]() | วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด การให้ลูกดูดนมแม่ที่ปั๊มออกมาจากขวด เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่อลูกดูดนมแม่มานานจนชินแล้ว การให้ดูดนมจากขวดก็ไม่ใช่เรื่องที่เจ้าตัวน้อยจะยอมง่ายๆ เป็นปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องกลุ้มใจกันอย่างหนักทีเดียว |
![]() | ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด ผลการวิจัยบอกเราว่า ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจะต้องการน้ำนมเฉลี่ยวันละ25ออนซ์ (750 มล.) ในช่วงอายุ 1-6เดือน ทารกแต่ละคนต้องการน้ำนมปริมาณไม่เท่ากัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่าง 19-30 ออนซ์ต่อวัน (570-900 มล.ต่อวัน) |
![]() | จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับน้ำนมมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ? ปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับในแต่ละมื้อ จะต่างกันออกไป เหมือนๆกับที่ปริมาณอาหาร และน้ำที่ผู้ใหญ่ได้รับแตกต่างกัน ในช่วงวันทารกอาจจะดูดนมปริมาณไม่เท่ากันในแต่ละมื้อ ให้ดูที่ความต้องการของทารกเป็นหลัก ไม่ใช่คอยพยายามยัดเยียดให้เขาดูดนม จนหมดขวดทุกครั้งไป |
![]() | เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไร ยิ่งง่ายเท่านั้น (โดยเฉพาะภายใน 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด) แต่ถ้าคุณพลาดช่วงเวลานั้นมาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล เริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันพรุ่งนี้เริ่มจากมื้อเช้า (ตี5-6 โมง) ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้มากที่สุดในช่วงนี้ |
![]() | Workshop เพิ่มน้ำนม ทารกเป็นเครื่องกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อทารกนั้นดูดนมได้อย่างถูกวิธี ดูดแล้วได้น้ำนม แต่สำหรับทารกที่ดูดนมไม่เป็น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับขวดตั้งแต่แรกคลอดนั้น จะช่วยกระตุ้นได้น้อย เพราะจะดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่มีน้ำนมออกมาร่างกายก็ไม่ได้รับการกระตุ้นนั่นเอง |
![]() | ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยม ของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง |
![]() | ตารางบันทึกการปั๊มนม 1 เดือน การกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำนมให้ชัดเจน และมีวินัยในการปั๊ม พร้อมทั้งจดบันทึกไว้ทุกวัน จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น นำปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้มาพล็อตกราฟข้างล่างนี้ |
![]() | ประสบการณ์จริงของคุณแม่นักปั๊ม ประสบการณ์จริงของคุณแม่นักปั๊ม เรื่องเล่าจากคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องการให้นมลูกนานถึง 6 เดือน แต่น้ำนมไม่พอ |
![]() | แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ค้นหา รายชื่อเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ที่นี่ |
![]() | 14 วันแรกหลังคลอดในการเพิ่มปริมาณน้ำนม หากต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้นให้ปั๊มเพิ่มเป็น 8-12 ครั้งต่อวัน โดยมีเป้าหมายให้ได้ปริมาณน้ำนม 25-35 ออนซ์ (750-1050 ซีซี) ต่อวัน ภายใน 10-14 วันหลังคลอด โดยไม่เกี่ยวกับปริมาณที่ทารกต้องการ |
![]() | วิธีทำอุปกรณ์ Hands Free ง่ายๆ ด้วยตนเอง วิธีทำอุปกรณ์ Hands Free ง่ายๆด้วยตัวเอง จากสิ่งของรอบข้าง ง่ายๆสำหรับคุณแม่ |
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |